เตรียมอุปกรณ์
1. เทียนหู 2. สำลี 3. ครีม หรือน้ำมันสำหรับนวด
4. ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค 5. ถ้วยน้ำ 6. กรรไกร
ข้อแนะนำ และข้อควรระวังในการบำบัดด้วยเทียนหู
1. ควรจัดให้อยู่ในท่าสบาย โดยนอนตะแคง ใช้หมอนรองศีรษะ เพื่อให้ช่องโสตประสาทอยู่ในระดับแนวดิ่ง เพื่อให้ง่ายต่อการบำบัด
2. ควรบำบัดขณะที่อยู่ในที่ไม่มีลมโกรก เพื่อให้การเผาไหม้ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตลอดการบำบัด
3. เส้นสีแดงรอบเทียนเป็นระยะปลอดภัยของการบำบัด จึงไม่ควรให้ไฟลุกไหม้ต่ำกว่าเส้น
4. ไม่ควรทำการบำบัดโดยลำพัง เพราะอาจเคลิ้มหลับขณะทำการบำบัด ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้
5. ผู้ที่หูอักเสบ เป็นแผลติดเชื้อ หรือเป็นหูน้ำหนวด แก้วหูทะลุ หรือฉีกขาด ไม่ควรใช้การบำบัดด้วยเทียนหู เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแก้วหูได้
6. ไม่ควรเก็บเทียนหูในที่ที่มีอากาศร้อน เพราะอาจทำให้เทียนหูละลายได้
7. ไม่ควรใส่เทียนหูลึกเกินไป (ควรใส่เพียงให้กระชับรูหูด้านนอก)
วิธีการบำบัดด้วยเทียนหู
1. เช็ดทำความสะอาดรอบใบหูด้วยแอลกอฮอล์ จากนั้นนวดส่วนหน้า และหลังใบหูให้ทั่วด้วยครีม
2. จุดไฟที่ปลายเทียน ใส่ส่วนฐานของเทียน (ด้านที่มีพลาสติกหุ้ม) ลงในรูหูให้กระชับพอดี ไม่ควรใส่ลึกเกินไป (ระหว่างบำบัดหากมีควันออกจากหู แสดงว่าในหูยังไม่เป็นสุญญากาศ ควรขยับเทียนหูไปมาเพื่อให้เทียนกระชับกับรูหู หรือจนไม่มีควัน)
3. จับเทียนอยู่ในแนวดิ่งกับหู และขยับจนได้ยินเสียงดังไปภายในหูมากที่สุด และให้ได้ยินเสียงดังตลอดการบำบัด
5. กรณีบำบัดโดยใช้เทียนหูครึ่งแท่งต่อหู 1 ข้าง
· เมื่อไฟไหม้เทียนประมาณครึ่งหนึ่ง ให้ดับเทียนด้วยการตัดส่วนที่ไม้ทิ้งไป
· บีบ และเคาะเทียนให้สิ่งสกปรกที่ดูดออกมาจากหูให้หลุดออกมาจากเทียน
· จุดไฟที่ปลายเทียนส่วนที่เหลือใส่เทียนในหูอีกข้าง ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 5 และ 6 อีกครั้ง
หมายเหตุ เพื่อความปลอดภัย ควรหยุดการบำบัด ก่อนไฟจะไหม้ถึงเส้นที่กำหนดประมาณ 12 ซ.ม.
6. กรณีบำบัดโดยใช้เทียนหู 1 แท่ง ต่อหู 1 ข้าง ให้ทำการบำบัดต่อเนื่องจนไฟลุกไหม้ก่อนถึงเส้นที่กำหนด 1-2 เซนติเมตร จึงหยุดการบำบัด และตัดส่วนที่ไหม้ทิ้งไป
*** กรณีมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณเยาวลักษณ์ (081) 697-1502